หน่วยรับเข้าข้อมูล


หน่วยรับเข้าข้อมูล (Input Unit)

หน่วยรับข้อมูล คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่ง จากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เป็นต้น 
โดยจะแปลงข้อมูลหรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำมาจัดเก็บที่หน่วยความจำหลัก และ ใช้ประมวลผลได้ อุปกรณ์หน่วยรับข้อมูล
ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้

1.เมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์









1.1 เมาส์จะมีล้อยางเป็นลูกกลิ้งอยู่ด้านล่าง เมื่อผู้ใช้เมาส์เลื่อนเมาส์ไปบนแผ่นรองเมาส์ (Mouse pad) หรือพื้นโต๊ะ จะทำให้ลูกกลิ้งด้านล่างหมุนและทำให้แกนภายในของเมาส์หมุน ก็จะส่งสัญญาณเป็นพิกัดในการเลื่อนตำแหน่งชี้ (Mouse Pointer) ของเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ เมื่อต้องการเลือกส่งต่าง ๆ บนจอภาพ ทำได้โดยการกดปุ่มซ้ายหรือขวา 1 ครั้ง (Click) หรือ 2 ครั้ง (Double Click) การทำงานของเมาส์นี้จะต้องควบคุมด้วยโปรแกรมที่เรียกว่า Mouse Driver



   1.2 เมาส์แบบใช้แสง (Optical) เป็น แบบที่ใช้แสงส่องลงไปที่พื้นแล้วสะท้อนกลับมาที่ตัวรับเพื่อวัดการเลื่อนตำแหน่ง ถ้าเป็นรุ่นใหม่ๆ จะสามารถใช้กับพื้นผิวได้แทบทุกแบบ



    1.3 เมาส์แบบไร้สาย เป็น Mouse ที่มีการทำงานเหมือน Mouse ทั่วไปเพียงแต่ไม่มีการใช้สายไฟต่อออกมาจากตัว Mouse ซึ่ง Mouse ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณซึ่งทางด้านตัวรับสัญญาณอาจจะเป็นหัวต่อแบบ PS/2 หรือ แบบ USB ที่เรียกว่า Thumb USB receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุอยู่ที่ 27MHz และปัจจุบันใช้แบบ Nano receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุที่ 2.4 GHz

เมาส์แบ่งเป็นประเภทย่อยๆได้ ดังนี้

                       1.  Serial Mouse เป็นเมาส์แบบดังเดิมหรือแบบเก่า จะเชื่อมต่อกับพอร์ต
Com 1 Com2 
                       2. PS/2 Mouse เป็นเมาส์แบบใหม่ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมา หัวต่อจะมี ขนาดเล็ก 
กว่าแบบแรกข้อดีของการใช้เมาส์แบบนี้ก็คือ จะเหลือพอร์ต 
                       3. Track ball เป็นเมาส์อีกแบบหนึ่งคล้ายๆกับการจับเมาส์หงายขึ้นแล้วใช้มือหมุนลูกกลิ้งแทน โดยส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Note Book
                       4. Infrarade Mouse คล้ายๆ กับรีโมตคอนโทรลที่ควบคุมการทำงานของทีวีจะไม่มีสายเชื่อมต่อระหว่างเมาส์กับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่จะใช้แสงอินฟาเรดในการรับส่งสัญญาณแทน เหมาะสำหรับ
ผู้ที่เป็นวิทยากรหรืออาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ หรือการนำเสนอข้อมูลใดๆด้วยคอมพิวเตอร์เพราะ
คุณสามารถเลื่อนตัวชี้เมาส์เพื่อควบคุมการนำเสนอได้ค่อนข้างสะดวก ไม่ต้องยืนควบคุมเมาส์บนโต๊ะอย่างเดียว
                       5. Joy stickเป็นก้านสำหรับใช้โยกขึ้นลง / ซ้ายขวา เพื่อย้ายตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์ แต่จะมีแป้นกดเพิ่มเติมมาจำนวนหนึ่งสำหรับสั่งงานพิเศษ 
นิยมใช้กับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์หรือควบคุมหุ่นยนต์ 
                       6. USB Mouse เป็นเมาส์ที่การใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น การทำงานจะเป็นลักษณะ
กับเมาส์ธรรมดา แต่จะแตกต่างกันที่หัวต่อไม่เหมือนกัน 
                       7. Glide pointจะเป็นแผนสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้นพิมพ์ สามารถใช้นิ้ววาดเพื่อ
เลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์ เหมือนกับ Touch pad

2. Keyboard คืออุปกรณ์แป้นพิมพ์ที่ใช้ป้อนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ มีปุ่มเหมือนกับเครื่องพิมพ์ดีด เป็นอุปกรณ์ที่มีในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จำนวนปุ่ม 101 ปุ่มขึ้นไป
คีย์บอร์ดนั้นจะ 1 ปุ่มจะมีตัวอักษรอยู่หลายตัว โดยปกติคีย์บอร์ดภาษาไทยก็จะมีภาษาอังกฤษปนอยู่ด้วยเพราะฉะนั้นใน 1 ปุ่มจะมี 3 ตัวอักษรและ 4 ตัวอักษรสำหรับปุ่มที่มีตัวเลขผสมอยู่ หลักการใช้งานปกติถ้าเราจะพิมพ์อักษรที่อยู่ข้างล่างของแป้น เราก็เพียงแค่กดลงไปเฉย ๆ แต่ถ้าต้องการพิมพ์อักษรที่อยู่ข้างบนของแป้นพิมพ์เราจำเป็นจะต้องกดปุ่ม Shift ค้างไว้ก่อนถึงจะพิมพ์ได้ หรือจะใช้ Shift Lock แทนการกด Shift ค้างก็ได้เช่นกัน แต่เมื่อจะกลับมาพิมพ์อักษรที่อยู่ข้างล้างหน้าลืมกดปลดล็อกด้วย

ประเภทของ keyboard มีอยู่ 5 แบบ

1. desktop keyboard เป็นคีย์บอร์ดมาตรฐานแบบ 101 ปุ่ม


2. desktop keyboard with hot key เป็นคีย์บอร์ดที่มีปุ่มพิเศษเพิ่มเข้ามามากกว่าแบบมาตรฐาน
3. wireless keyboard เป็นคีย์บอร์ดไร้สายเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางการเชื่อมต่อไร้สาย

4. security keyboard เป็นคีย์บอร์ดที่มีระบบรักษาความปลอยภัย

5. notebook keyboard เป็นคีย์บอร์ดขนาดเล็กและบาง
นอกเหนือจากแป้นปกติแล้วยังมีแป้นพิเศษที่มักจะอยู่แถวบนสุดของคีย์บอร์ด จะเป็นพวกปุ่ม F1-F12 หรือคีย์บอร์ดบางรุ่นจะมีปุ่มปรังเสียง ปุ่ม Play ปุ่ม Stop ให้เราใช้งานเพิ่มความสะดวกเพิ่มเข้ามาอีกด้วย ส่วนทางขวาของคีย์บอร์ดรุ่นใหญ่ ๆ จะมีปุ่มตัวเลข 0 - 9 แยกออกมาต่างหากเพื่อความสะดวกในการพิมพ์ตัวเลข

นอกจากนี้แล้วยังมีปุ่มที่ใช้กับโปรแกรมท่องเว็บ Browser ต่าง ๆ ด้วยเช่นปุ่ม Home ,End ,Page Up ,Pagd Down และปุ่มลูกศร บน ล่าง ขวา ซ้าย สามารถใช้แป้นเหล่านี้ในการควรคุมการเลื่อนหน้าเว็บได้ แทนการใช้เมาส์เพื่อเพิ่มความสะดวกในบางกรณี ซึ่งผมเองก็ใช้บ่อยเหมือนกันอย่างเวลาจะเลื่อนหน้าเว็บลงเพื่ออ่านข้อความในเว็บนั้นผมก็มักจะใช้วิธีกดปุ่มลูกศรลง แทนการใช้เมาส์เลื่อนหน้าเพจ


3.ปากกาสไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ลักษณะคล้ายกับ ปากกาลูกลื่น แต่เป็นปากกาอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ร่วมกับจอภาพแบบสัมผัส (Touch Screen) ของเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือปาล์มคอมพิวเตอร์ เครื่องพีดีเอ



3.หน้าที่หลักของเครื่องสแกนเนอร์ คือ การแปลงสัญญาณภาพให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า โดยการสแกนภาพหรือตัวอักษรที่อยู่ในเอกสารเสร็จแล้ว บันทึกเป็นข้อมูลทางดิจิตอลลงในสื่อบันทึกของเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่าง ๆ ได้ ดังนี้ 

เครื่องสแกนเนอร์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

1. แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-fed scanner)


       สแกนเนอร์ แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกนซึ่ง อยู่กับที่ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบเลื่อนกระดาษ คือ สามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถอ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้


2. แบบแท่นนอน (flatbed scanner)

       สแกนเนอร์ แบบนี้จะมีกลไกคล้าย ๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร เราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้บนแผ่นกระจกใส และเมื่อทำการสแกน หัวสแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบแท่นนอน คือ แม้ว่าอ่านภาพจากหนังสือได้ แต่กลไกภายในต้องใช้ การสะท้อนแสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก


3. แบบมือถือ (Hand-held scanner)



       สแกนเนอร์ แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไปบนหนังสือหรือรูปภาพเอง สแกนเนอร์ แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหนขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ในการเลื่อนหัวสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน

5. กล้องดิจิตอล (Digital Camera) คือ กล้องถ่ายรูปที่ไม่ต้องใช้ฟิล์ม ภาพที่ถ่ายได้จะถูกบันทึกแบบดิจิตอลโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในกล้อง โดยอยู่ในรูปแบบของไฟล์ภาพซึ่งสามารถส่งเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ออกมาเป็นภาพ กล้องดิจิตอล (Digital Camera) ส่วนใหญ่จะแบ่งตามการใช้งานของ CCD และลักษณะการใช้เลนส์ได้ 3 ประเภทใหญ่ๆดังนี้

       5.1 กล้องคอมแพค (Compact)  เป็นกล้องที่ใช้ CCD ตลอดเวลาเพื่อส่งภาพไป

ที่จอ LCD มี CCD ขนาดเล็กเพื่อให้เกิดความร้อนใน CCD น้อยที่สุด เมื่อต้องการบันทึกภาพ ก็ Copy ข้อมูลบน CCD ในวินาทีที่ต้องการแล้วเอาไปโพรเซสต่อ มีเลนส์ที่ติดตั้งคู่กับ CCD ตลอดเวลาไม่สามารถถอดออกได้ในการใช้งานปรกติ ภาพที่เห็นในช่องมองภาพเป็นคนละภาพ(ใกล้เคียง)
กับภาพที่ต้องการถ่าย สามารถปรับรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ได้น้อย ตัวกล้องมีขนาดเล็ก 
การทำงานเพื่อบันทึกภาพของกล้องดิจิตอลคอมแพค (Digital Compact) ก็เป็นหลักการเดียวกับกล้อง DSLR เพียงแต่กล้องดิจิตอลคอมแพค (Digital Compact) จะไม่มีกระจกสะท้อนภาพ 
ไม่มีม่านชัตเตอร์ แล้วก็ไม่มี Pentaprism จะถ่ายรูปออกมาได้ เมื่อแสงลอดผ่านเลนส์เข้ามามันก็
จะตกกระทบลงบนเซนเซอร์รับภาพ  นั่นก็คือเซนเซอร์จะได้รับแสงตลอดเวลาที่เปิดกล้อง ตรงนี้ทำให้เกิดข้อดีคือ สามารถนำมาทำเป็นระบบ Live view อย่างที่ใช้กันอยู่ได้ (ระบบ Live View ก็คือการ
ที่เรามองภาพก่อนถ่ายผ่านทางหน้าจอ LCD แทนที่จะเป็น Viewfinder) 




เวลากดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพ กล้องก็จะใช้ระบบ ควบคุมแบบ Electronics เพื่อปิด-เปิด การทำงานของเซนเซอร์รับภาพให้ได้ปริมาณแสงตามที่เราตั้งไว้ เมื่อนำค่าแสงที่ได้ไปประมวลผลต่อ ก็จะได้ภาพสวยๆออกมาตามที่เราต้องการเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น กล้องดิจิตอลคอมแพคไม่มีม่านชัตเตอร์ ถูกแทนที่ด้วยระบบ Electronics ตัดต่อการทำงานด้วยวงจรไฟฟ้า ไม่มีกระจกสะท้อนภาพเพราะใช้การแสดงผลภาพผ่านทาง Live View จึงทำให้กล้องดิจิตอลคอมแพค (Digital Compact)  เป็นกล้องที่มีจุดเด่นอย่างที่มันเป็น นั่นก็คือ มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก และใช้งานง่าย เป็นที่นิยมของคนทั่วไป

       5.2 กล้องคอมแพคระดับสูง (Prosumer) (DSLR - Like)พัฒนาขึ้นจากคอมแพคให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น CCD ใหญ่ขึ้น เมื่อ CCD ใหญ่ขึ้นเลนส์ก็ต้องใหญ่ขึ้น ทำให้สามารถเก็บแสงได้มากขึ้นสีสันและมิติภาพจึงมีมากกว่าคอมแพค แต่การเก็บภาพยังใช้หลักการของคอมแพคคือ CCD รับภาพตลอดเวลาส่งให้ช่องมองภาพและจอ LCD การที่ CCD ต้องรับภาพตลอดเวลากลายเป็นข้อจำกัดของกล้องชนิดนี้ทำให้ไม่สามารถขยายขนาด CCD ให้ใหญ่ทัดเทียมกับ DSLR ได้ เลนส์ที่ติดตั้งก็จะติดตั้งมากับตัวกล้อง ภาพที่เห็นในช่องมองภาพเป็นภาพเดียวกับภาพที่ต้องการถ่าย สามารถปรับรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ได้แต่อยู่ในวงแคบหรืออาจจะได้เพียง อย่างเดียว
 




       5.3 กล้อง Digital Single Lense Reflex (DSLR) SLR ย่อมาจาก Single Lense Reflex แปลว่าใช้การสะท้อนของเลนส์ชุดเดียวทั้งแสงที่จะตกลงใน CCD  และแสงที่เข้าสู่ตาในช่องมองภาพ ส่วนใหญ่ภาพที่เกิดในช่องมองภาพจะเกิดจากแสงจริงสะท้อนผ่านชิ้นเลนส์เข้าสู่ ตาไม่ได้เกิดจากการรับภาพของ CCD จึงไม่สามารถมองภาพผ่านทาง LCD ได้ มีเลนส์ขนาดใหญ่เพราะมีขนาด CCD ที่ใหญ่ CCD รับแสงเฉพาะตอนที่ม่านชัตเตอร์เปิดให้แสงผ่านเท่านั้น สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ เพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ มีทั้งเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสที่ตายตัว(Fixed) หรือ เปลี่ยนความยาวโฟกัสได้ (Zoom) แต่มีกล้อง DSLR บางชนิดที่สามารถมองภาพจาก LCD ได้โดยแยก CCD ออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกเอาไว้ประมวลผลภาพออกทาง LCD 
อีกชุดไว้บันทึกภาพ กล้องประเภทนี้มีตัวกล้องที่ใหญ่ กลไกการทำงานของกล้องประเภทนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานไปสู่การทำงานของกล้องอื่นๆ ด้วย กล้อง DSLR นั้น ชื่อเต็มๆของมันก็คือ Digital Single-Lens Reflect ว่าแต่ ทำไมต้องเป็น Single-Lens Reflect  Single Lens แปลออกมาตรงตัวได้ว่าเลนส์เดี่ยว นั่นก็คือกล้องที่มีเลนส์เพียงตัวเดียว ส่วนคำว่า Reflect นั้นเกิดขึ้นมาจากกระจกสะท้อนภาพอันหนึ่งซึ่งวางอยู่ด้านหน้าเซนเซอร์รับภาพ ซึ่งจะทำหน้าที่สะท้อนแสงที่ผ่านเข้ามาทางเลนส์ขึ้นสู่ช่องมองภาพ (Viewfinder)






























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น