1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Softwaer)
หมายถึง โปรแกรมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้
OS (Operating System) คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมหน่วยความจำ ควบคุมหน่วยประมวลผล ควบคุมหน่วยรับและควบคุมหน่วยแสดงผล ตลอดจนแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด และสามารถใช้อุปกรณ์ทุกส่วนของคอมพิวเตอร์และช่วยจัดการกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญ ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นการเปิด หรือปิดไฟล์ การสื่อสารกันระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่อง การส่งข้อมูลออกสู่เครื่องพิมพ์หรือสู่จอภาพ เป็นต้น ก่อนที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถอ่านไฟล์ต่าง ๆ หรือสามารถใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้จะต้องผ่านการดึงระบบปฏิบัติการออกมาฝังตัวอยู่ในหน้าความจำก่อน ปัจจุบันนี้มีโปรแกรมระบบบอยู่หลายตัวด้วยกันซึ่งแต่ละตัวนั้นก็เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะการทำงานจะไม่เหมือนกัน ดังนี้
DOS (Disk operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อมกับเครื่องพีซีของไอบีเอ็มรุ่นแรก ๆ จากนั้นก็มีการพัฒนารุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวอร์ชั่นสุดท้ายคือ เวอร์ชั่น 6.22 หลังจากที่มีการประกาศใช้วินโดวส์ 95 ก็คงจะไม่ผลิต DOS เวอร์ชั่นใหม่ออกมาแล้ว โดยทั่วไปจะนิยมใช้วินโดวส์ 3.x ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมเสริมชนิดหนึ่งที่ใช้ในดอส
ความยาวของชื่อ-นามสกุล ไฟล์
ความแตกต่างที่เห็นในชัดของชื่อไฟล์ในระบบ DOS กับ Windows คือ ความยาวของชื่อไฟล์ Windows สามารถตั้งชื่อให้ยาวได้มากถึง 255 ตัวอักษร
ส่วนในระบบ DOS ชื่อและนามสกุลของไฟล์จะถูกจำกัดได้เพียง
ชื่อยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร นามสกุลยาวไม่เกิน 3 ตัวอักษร ตัวอย่าง Readme.TXT (ชื่อไฟล์ Readme
หลังจุดคือนามสกุล TXT)
คำสั่งระบบ DOS พื้นฐาน
1. DIR (Directory) – คำสั่งในการแสดงรายชื่อไฟล์
รายชื่อไดเรกทอรี่ (Folder ใน windows ปัจจุบัน)
ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)
Dir – แสดงรายชื่อไฟล์
ไดเรกทอรี่ทั้งหมด พร้อมทั้งขนาดไฟล์ + วันเวลาอัปเดทล่าสุด
Dir /p – แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน
ให้หยุดแสดงทีละหน้า (กรณีที่มีจำนวนไฟล์ยาวมากกว่า 1 หน้าจอ)
Dir /w – แสดงรายชื่อไฟล์
ไดเรกทอรี่ในแนวนอน
Dir /s, – แสดงรายชื่อไฟล์
ไดเรกทอรี่ และไฟล์ที่อยู่ในไดเรกทอรี่ย่อยด้วย
Dir /od – แสดงรายชื่อไฟล์
ให้เรียงตามวันที่อัปเดท
Dir /n – แสดงรายชื่อไฟล์
ให้เรียงตามชื่อ
2. CLS (Clear Screen) – คำสั่งสำหรับลบหน้าจอออก
3. DEL (Delete) – คำสั่งในการลบชื่อไฟล์ที่ต้องการ
เช่น DEL readme.txt หมายถึงให้ลบชื่อไฟล์ README.TXT
ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)
Del readme.txt – ลบไฟล์ชื่อ readme.txt
Del *.* – ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน
Del *. – ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน
เฉพาะไฟล์ที่ไม่มีนามสกุล
4. MD (Make Directory) – คำสั่งในการสร้างไดเรกทอรี่
เช่น MD Photo จะได้ไดเรกทอรี่ C:Photo
5. CD (Change Directory) – คำสั่งในการเข้าไปในไดเรกทอรี่
(CD คือคำสั่งในการออกจากห้องไดเรกทอรี่)
6. RD (Remove Directory) – คำสั่งในการลบไดเรกทอรี่
เช่น RD Photo (เราจะต้องอยู่นอกห้องไดเรอทอรี่ Photo)
7. REN (Rename) – คำสั่งในการเปลี่ยนชื่อชือ
เช่น REN readme.txt read.me หมายถึงการเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น READ.ME
ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน
(Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่
เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา
หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น
CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก
(External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS
คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ
ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น
ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่างๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์
ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B:
[path] หมายถึง
ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename] หมายถึง
ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext] หมายถึง ส่วนขยาย
หรือนามสกุล
หมายเหตุ : ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] )
ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
ทดลองใช้คำสั่ง DOS ใน Windows
สำหรับผู้ใช้งาน Windows 95,98 สามารถทดสอบการใช้งานระบบ
DOS ได้ มีวิธีเรียกใช้งานดังนี้
1. คลิกปุ่ม
Start เลือก คำสั่ง RUN พิมพ์คำว่า Command
หรือ
2. คลิกปุ่ม Start เลือกเมนู Program และเลือกโปรแกรม MS-DOS
3. ต้องการให้หน้าจอแสดง DOS
เต็มจอให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter
4. และถ้าต้องการให้หน้าจอเล็กดังเดิม
ก็ให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter เช่นเดียวกัน
5. เลิกทดสอบและต้องการเข้าระบบ
Windows ให้พิมพ์คำว่า EXIT
UNIX เป็นระบบ OS ที่สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคน (Multiuser) หรือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและพาสเวิร์ดส่วนตัว และสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก โดยผ่านทางสายโทรศัพท์และมีModemเป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลหรือโอนย้ายข้อมูลนิยมใช้อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนที่มีระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ ใช้ ในระบบยูนิกซ์เองก็มีวินโดวส์อีกชนิดหนึ่งใช้เรียกว่า X Windowsสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ระบบยูนิกซ์ในเครื่องพีซีที่บ้านก็มีเวอร์ชั่นสำหรับพีซีเรียกว่า Linux ซึ่งจะมีคำสั่งพื้นฐานคล้าย ๆ กับระบบยูนิกซ์
LAN เป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายเช่นเดียวกัน แต่จะใช้เชื่อมโยงกันในระยะใกล้ ๆ เช่น ในอาคารเดียวกันหรือระหว่างอาคารที่อยู่ใกล้กัน โดยใช้สายLan เป็นตัวเชื่อมโยง
WINDOWS เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่น Windows 2000 แล้ว บริษัทไมโครซอฟต์ได้เริ่มประกาศใช้ MS Windows 95 ครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยมีความคิดที่ว่าจะออกมาแทนMS-DOS และ วินโดวส์ 3.X ที่ใช้ร่วมกันอยู่ ลักษณะของวินโดวส์ 95 จึงคล้ายกับเป็นระบบโอเอสที่มีทั้งดอสและวินโดวส์อยู่ในตัวเดียวกันแต่เป็นวินโดวส์ที่มีลักษณะพิเศษกว่าวินโดวส์เดิม เช่น มีคุณสมบัติเป็น Plug and play ซึ่งสามารถจะรู้จักฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องได้โดยอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นระบบ 32 บิต ในขณะที่วินโดวส์ เดิมเป็นระบบ 16 บิต เป็นต้น บริษัทไมโครซอฟต์ไม่ได้หยุดเพียงแค่วินโดวส์ 95 แต่ได้มีการพัฒนาเพิ่มฟังก์ชันใหม่ ๆ เข้าไป ในที่สุดก็ออกระบบโอเอสตัวถัดมาเป็น MS Windows 98 และ MS Windows 2000 ตามลำดับโดยที่มีการติดตั้ง และการใช้งานที่มีพื้นฐานไม่แตกต่างกันมากนัก จึงง่ายสำหรับผู้ใช้ในการปรับตัวเข้ากับระบบโอเอสใหม่ ๆ
Windows ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
Windows 1.0
Windows 2.0
Windows 3.0
Windows 3.1
Windows NT
Windows 95
Windows 98
Windows 2000 Professional
Windows Me
Windows XP
Windows Vista
Windows 7
Windows 8
Windows 8.1
Windows 10
Windows NT เป็นระบบ OS ที่ผลิตจากบริษัทไมโครซอฟต์เช่นเดียวกัน เป็นระบบ 32 บิต มีรูปลักษณ์เป็นกราฟิกที่ต้องใช้เมาส์คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไปแต่นิยมใช้ในระบบเวิร์กสเตชันมากกว่าในเครื่องพีซีทั่ว ไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น