ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์
ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์มีอยู่ด้วยกัน 4 ระบบได้แก่
- ระบบ NTSC (National Televion Standards Committee)
- ระบบ PAL (Phase Alternation Line)
- ระบบ SECAM (SEQuentiel A Memoire("memory sequential")
- ระบบ HDTV (High-definition television)
NTSC
เป็นระบบโทรทัศน์สีระบบแรกที่ใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปีค.ศ.1953 ประเทศที่ใช้ระบบนี้ต่อ ๆ มาได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เปอเตอริโก้ และเม็กซิโก เป็นต้น
ข้อดี
ข้อเสีย
PAL
เป็นระบบโทรทัศน์ที่พัฒนามาจากระบบ NTSC ทำให้มีการเพี้ยนของสีน้อยลง เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 ในประเทศทางแถบยุโรป คือ เยอรมันตะวันตก อังกฤษ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และมีหลายประเทศในแถบเอเซียที่ใช้กันคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้
ข้อดี
ข้อเสีย
SECAM
เป็นระบบโทรทัศน์อีกระบบหนึ่งคิดค้นขึ้นโดย Dr.Henry D.France เริ่มใช้มาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 นิยมใช้กันอยู่หลายประเทศแถบยุโรปตะวันออก ได้แก่ ฝรั่งเศส อัลจีเรีย เยอรมันตะวันออก ฮังการี ตูนีเซีย รูมาเนีย และรัสเซีย* เป็นต้น *ระบบ SECAM ที่รัสเซียใช้มี 625 เส้น
เป็นระบบโทรทัศน์อีกระบบหนึ่งคิดค้นขึ้นโดย Dr.Henry D.France เริ่มใช้มาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 นิยมใช้กันอยู่หลายประเทศแถบยุโรปตะวันออก ได้แก่ ฝรั่งเศส อัลจีเรีย เยอรมันตะวันออก ฮังการี ตูนีเซีย รูมาเนีย และรัสเซีย* เป็นต้น *ระบบ SECAM ที่รัสเซียใช้มี 625 เส้น
ข้อดี
ข้อเสีย
ระบบโทรทัศน์สีที่ใช้งานทั่วโลก ในระบบแอนะล็อกยังมีการแบ่งย่อยจากระบบใหญ่ๆ ทั้ง 3 ระบบดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมของกระแสไฟฟ้าที่แต่ละประเทศใข้งาน และความเหมาะสม กับประเทศที่ใช้งานกำหนดโดยสหภาพวิทยุโทรคมนาคม (ITU) เช่นกระแสไฟฟ้า 60 Hz จะใช้ระบบสัญญาณโทรทัศน์สี Field frequency 60 Hz และกระแสไฟฟ้า 50 Hz จะใช้ระบบสัญญาณโทรทัศน์สี Field frequency 50 Hz ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความถี่ของกระแสไฟฟ้าที่ใช้รบกวนสัญญาณภาพ
ระบบสัญญาณโทรทัศน์สีที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีคุณภาพสัญญาณที่ดีไม่พบข้อเสีย ดังนั้นในการพิจารณาใช้งานระบบใดระบบหนึ่งก็อาจมีสาเหตุ มาจากเหตุผลอื่นๆ เช่น เหตุผลทางด้านเศรษฐกิจการลงทุนในการผลิต และการใช้เครื่องรับโทรทัศน์เป็นจำนวนมากแล้วถ้าหากจะเปลี่ยนระบบอาจต้องลงทุนสูง เหตุผลทางด้านการเมือง อาจได้รับการสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจให้ใช้ระบบใดระบบหนึ่ง
บทสรุป สัญญาณโทรทัศน์สีในระบบต่างๆที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีหลักการออกแบบคล้ายกัน คือ การส่งโทรทัศน์สีจะต้องทำให้เครื่อรับโทรทัศน์ขาว-ดำและเครื่องรับโทรทัศน์สีรับสัญญาณได้ โดยสัญญาณที่ส่งออกอากาศจะต้องเป็นสัญญาณเดียวกัน ส่วนคุณภาพของภาพโทรทัศน์นั้นขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางเทคนิคการกำหนดภาพที่เหมาะสมมี 2 ระบบหลักคือ 25 ภาพ/วินาที และ 30 ภาพ/วินาที สัญญาณโทรทัศน์สีในระบบแอนะล็อกนี้จะถูกเปลี่ยนเข้ารหัสเป็นระบบดิจิทัล ก่อนที่จะส่งเป็นสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัล
HDTV (High-definition television)
โทรทัศน์ความละเอียดสูง เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ที่มีความละเอียดของภาพมากกว่าสัญญาณโทรทัศน์แบบดั้งเดิม (NTSC, SÉCAM, PAL) สัญญาณจะถูกแพร่ภาพในระบบโทรทัศน์ระบบดิจิทัล การถ่ายทอดสัญญาณภาพ HD เกิดขึ้นครั้งแรกของโลกในช่วงปี ค.ศ.1980 สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศระบบ HD แห่งแรกของโลกคือสถานีโทรทัศน์ NBC ของสหรัฐอเมริกา จากนั้นเริ่มแพร่หลายไปใน ยุโรป ช่วงยุคปี ค.ศ.1992 ในปัจจุบันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมามีข้อบังคับอยู่ว่าโทรทัศน์ที่ถูกผลิตหลังจากนี้เป็นต้นไปจะต้องมีตัวรับสัญญาณแบบ HDTV อยู่ในตัวด้วย และสัดส่วนเป็น 16:9 ทั้งหมด
ประเทศไทยกับระบบเอชดีเริ่มทดลองเป็นครั้งแรกงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดย ทรูวิชั่นส์ และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2553 ไทยเป็นประเทศที่สามของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เริ่มออกอากาศโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแบบเอชดี สำหรับโทรทัศน์ภาคพื้นดินนั้นยังไม่มีการออกอากาศระบบเอชดี เพราะต้องรอกสทช. อนุญาตในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลเสียก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น